รีวิว The Amazing Spider-Man 2 (2014) ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน 2 ผงาดจอมอสุรกายสายฟ้า

รีวิว The Amazing Spider-Man 2 (2014) ดิ อะเมซิ่ง สไปเดอร์แมน 2 ผงาดจอมอสุรกายสายฟ้า

1399184167

2 วันก่อนที่ผมจะดูไอ้แมงมุมภาคใหม่ ผมได้ไปคลิ้กดู Honest Trailer ของภาคแรกมาครับ (Honest Trailer คือตัวอย่างแซวหนังเรื่องนั้นๆ โดยจะเอาจุดอ่อน ช่องโหว่ หรืออะไรที่มันดูตลกมาล้อในเชิงขำขัน… และส่วนใหญ่ที่เขาเอามาล้อ ก็จริงซะด้วย)

ทางเข้าดูหนังออนไลน์ฟรี 👉 Hopsmovie.com 👈 เว็บดูหนังฟรีที่มีหนังให้เลือกดูมากที่สุด

อย่างหนึ่งที่ Honest Trailer ล้อไว้ก็คือ ทีมงานคงต้องใช้ความคิดหัวแทบแตก เพื่อให้ลุงเบนพูดประโยคคลาสสิก “Great power come with great responsibility” ในเวอร์ชั่นใหม่ไม่ซ้ำของเดิม อันนำมาสู่คำว่า “Not choice, Responsibility”

แล้วหลังจากผมได้ดูไอ้แมงมุมอะเมซิ่งภาค 2 เจ้าประเด็นชวนขำที่ว่านี่ก็ได้รับการต่อยอดในหัวน้อยๆ ของผม

ก่อน จะลงลึกในเรื่องที่ว่าก็ขอร่ายคร่าวๆ เกี่ยวกับหนังภาคนี้นะครับ สำหรับคนที่อยากอ่านด่วนเพื่อนำไปตัดสินใจในการดู ก็ขอบอกเลยว่า ภาคนี้สิ่งที่เด่นมากๆ คือการแสดงของ Emma Stone เธอสวมวิญญาณ เกว็น สเตซี่ได้อย่างสุดยอด ทั้งน่ารัก สดใส และเปี่ยมเสน่ห์ เรียกว่าเธอถ่ายทอดคาแรคเตอร์สมัยคอมมิคให้มีชีวิตบนแผ่นฟิล์มได้อย่างน่า ปรบมือ

จนผมแอบตั้งชื่อหนังใหม่ให้ว่า “The Amazing Gwen Stacy”

ใน แง่อื่นๆ ก็เห็นด้วยกับหลายเสียง ที่ว่าภาคนี้จะเด่นด้านโรแมนติก (ความรักระหว่างปีเตอร์และเกว็น) ตามด้วยโทนสีสดสวยเหมือนในการ์ตูน โดยเฉพาะตอนอิเล็คโตรแผลงฤทธิ์นี่สีสันจัดจ้านงามมากๆ และแน่นอนว่าด้าน Effect ก็จัดว่าน่าพอใจ

ด้านความตื่นเต้น น่าติดตาม ปมดราม่าต่างๆ หรือการเล่าเรื่องก็ยังไม่ลี้จากภาคแรกสักเท่าไร นั่นคือรสชาติยังไม่อร่อยลิ้นเท่าที่ควร ปมถูกนำเสนออย่างเรียบๆ ลูกเล่นดึงความสนใจยังไม่มาก จุดนี้แม้จะเข้าใจว่าทีมงานพยายามคงไว้ซึ่งสไตล์ “สมจริง” อย่างที่ภาคแรกทำไว้ นั่นก็คือจะไม่เน้นการดึงอารมณ์คนดูให้หวือหวา ไม่แช่ภาพ ไม่อัดดนตรี และไม่จงใจบิ้ว แต่จะนำเสนออะไรที่เรียบง่าย แม้จะเป็นหนังซูเปอร์ฮีโร่แต่ก็ทำแบบ “ดูจริงมากกว่าดูปรุง” ซึ่งก็โอเคล่ะครับ เข้าใจเจตนา

แต่กระนั้นก็แอบคิดในใจอยู่เหมือนกันว่า “ถ้าจะเหยาะซีอิ๊ว ใส่เต้าเจี้ยว คั่วกระเทียมเจียวลงไปหน่อย มันก็คงไม่เลวร้ายเกินไปล่ะกระมัง” เพราะยังไงหนังแนวนี้สิ่งที่จะทำให้รสมันเข้มได้ก็คือการดันอะไรๆ ให้เกินจริงบ้าง เค้นอารมณ์ให้มันสุดๆ บ้าง เพราะจะว่าไปนั่นก็เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของหนังซูเปอร์ฮีโร่… อะไรที่มัน Super… อะไรที่มากกว่า Simple

เอาเป็นว่าถ้าคุณชอบหนังซูเปอร์ฮีโร่และชอบไอ้แมงมุมล่ะก็ ตีตั๋วเข้าไปดูได้ครับ หนังก็ดูสนุกและให้ความบันเทิงได้ในระดับหนึ่ง

โดยส่วนตัวแล้วผมก็ยังปลื้มฉบับเก่าของ Sam Raimi มากกว่าครับ ซึ่งอันนี้ถือว่าลางเนื้อชอบลางยา เพราะคนที่ชอบของใหม่มากกว่าก็มีเหมือนกัน ดังนั้นการลองพิสูจน์ด้วยตนเองสักครั้ง ก็น่าจะเป็นทางที่เข้าท่าที่สุดครับ

เอาล่ะครับ นั่นคือรีวิวเบื้องต้นที่เหมาะสำหรับคนอยากรู้คร่าวๆ ส่วนที่ผมจะเขียนถัดจากนี้ก็จะลงลึกไปอีกระดับ แน่นอนครับว่าการสปอยล์บางครั้งก็ยากจะหลีกเลี่ยง จึงขอแจ้งไว้ล่วงหน้า แต่กระนั้นผมก็ขอบอกว่าจะไม่ถึงกับสปอยล์รุนแรงอะไรครับ

ย้อนกลับไปประเด็นที่ผมพูดไว้ตอนแรก ว่าทีมงานคงต้องนั่งคิดว่าจะทำไงให้ลุงเบนสื่อ “สารดั้งเดิม” อันเป็นแก่นของเรื่อง ด้วยคำพูดที่ต้องเท่ห์ ติดหู และต้องไม่ซ้ำของเก่า อันนำมาสู่คำใหม่ที่จะว่าไปก็ไม่ฮิตเท่าของเดิม

จากจุดนี้เองทำให้อดคิดไม่ได้ครับว่าทีมงานคงคิดหนักในอีกหลายเรื่อง เพราะพวกเขาต้องรีบูทหนังที่ยังไม่เก่า (Spider-Man 3 กับฉบับใหม่ห่างกันเพียง 5 ปีเท่านั้น) อีกทั้งของเก่าก็ทำไว้ได้มาตรฐาน คนส่วนใหญ่ก็ชอบและชื่นชม แต่ครั้นจะไปเดินตามรอยเท้าเก่าก็คงไม่ได้เพราะประกาศไปแล้วว่ารีบูท เริ่มต้นใหม่หมด ทีมงานเลยต้องพยายามทำของใหม่ในแนวทางที่ไม่ย่ำของเก่าจนเกินไป มีสไตล์ในแบบของตัวเอง อีกทั้งต้องคงไว้ซึ่งความเป็น Spider-Man ด้วย

โจทย์การสร้างของใหม่ โดยพยายามแหวกจาก “แนวทางเก่าที่ดีอยู่แล้ว” และยังมี “กรอบดั้งเดิมของ Spider-Man” มาล้อมไว้นั้นย่อมไม่ใช่ของง่าย นึกแล้วก็เห็นใจทีมงานอยู่ประมาณหนึ่งครับ เพราะมันคือโจทย์ที่ต้องตอบแหวก แต่เป็นการแหวกที่มีกรอบครอบอยู่… กระดิกตัวลำบากเหมือนกันนะครับ ถ้าจะว่าไป

นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้กำกับ Marc Webb และทีมงาน (หรือดีไม่ดีอาจเป็นเจตนาของบริษัทผู้สร้าง) ที่จะเลือก “แหวก” โดย “คืนสู่สามัญ” ไม่เน้นแฟนตาซีดราม่าเข้มข้นเร้าอารมณ์แบบคราวก่อน แต่หันมา Simple & Real อย่างที่เป็นอยู่

พออะไรๆ มาในแนวนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะมี “คนชอบฉบับนี้มากกว่าฉบับก่อน” หรือ “ชอบฉบับก่อนมากกว่าฉบับนี้” แยกกันแบบค่อนข้างชัด ดังนั้นไม่ต้องบอกว่าอันไหนดีกว่าอันไหนยังไงล่ะนะครับ เพราะมันก็มีดีมีด้อยด้วยกันทั้งนั้นแหละ

… พูดถึงตรงนี้ ผมรู้สึกอยากลองสำรวจ “โครงสร้าง” ของฉบับก่อนและฉบับนี้กันดูสักครา ซึ่งผมว่ามันบอกอะไรที่น่าสนใจได้หลายประการอยู่

หากมองย้อนไปฉบับของ Sam Raimi จะพบว่ามันครบรสบันเทิง ดูเอามันส์ก็ได้ แอ็กชันมาเป็นระยะ และที่ถือว่าทำได้ถึงรสมากๆ คือดราม่า ปมปัญหาชีวิตของตัวละคร ซึ่งมีเยอะมากครับ ทุกคนมีความขัดแย้งทั้งในตนเองและแย้งกับคนอื่น

ตั้งแต่ ตัวปีเตอร์ที่มีปมเยอะ ตอนแรกก็แอบรักเขาข้างเดียว เป็นคนหงอไม่สู้ใคร ครั้นพอมีพลังแทนที่จะเป็นเรื่องดี แต่มันกลับมาพร้อมความรับผิดชอบสารพัด พี่แกต้องช่วยคนมือเป็นระวิงในขณะที่ปัญหาส่วนตัวก็มีตรึม ตั้งแต่ปัญหาเรื่องเงิน, เรื่องงาน เรียกว่ามีพลังพิเศษ แต่พลังนั่นไม่ได้ทำให้รวยเลยครับ พี่แกเหนื่อยกว่าเก่า ไม่มีเวลาหาเลี้ยงชีพหรือดูแลป้าที่แก่เฒ่า จนพอทำๆ ไปพี่แกยังอยากเลิกด้วยซ้ำ

ส่วนป้าเมย์ของเขาก็ต้องมาอยู่คนเดียว หลังลุงจากไป (แต่ก็ยังห่วงหลานมาก ถึงขนาดยัดเงินใส่มือหลานทั้งน้ำตา), คนที่เขาแอบรักอย่างแมรี่เจนก็หันไปหาเพื่อนรักอย่างแฮร์รี่ ครั้นพอแมรี่หันมาสนใจปีเตอร์ เขาก็ไม่กล้าจะรับเธอเป็นแฟน เพราะกลัวจะนำภัยไปสู่เธอแทนที่จะเป็นความรักและความสุข, ชีวิตปีเตอร์มีขึ้นมีลง โดยที่การตายของลุงเบนคือสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเขาไปจนถึงภาค 3 ฯลฯ

ตัว ละครอื่นก็มีปมขัดแย้งไม่แพ้กัน อย่างตัวร้ายแต่ละภาคก็ไม่ได้เป็นคนเลวร้ายแต่เริ่มแรก ทว่ากลายเป็นคนร้ายเพราะสถานการณ์บังคับ แล้วก็มีภาวะ “ขัดแย้งในใจ” เกิดเป็นระยะๆ กล่าวคือไม่ได้ร้ายอย่างเดียวจนไร้มุมความเป็นมนุษย์ และนอกนั้นไม่ว่าจะแมรี่ เจน, แฮร์รี่, ป้าเมย์ ก็ล้วนมาพร้อมปมดราม่าทั้งสิ้น

1399397039

นั่นแหละครับ ฉบับ Raimi มีปมเยอะ ดราม่าแยะ อะไรเหล่านี้ทำให้เราอิน ทำให้เราผูกพันตัวละครได้ง่าย (แน่นอนว่าการแสดงดีๆ ของดาราก็เป็นพลังสำคัญไม่แพ้กัน) แม้บางปมอาจดูเหมือนจงใจยัดลงมา ประหนึ่งเจตนาบิ้วบรรยากาศให้เราเกิดความรู้สึกอินก็ตามที แต่ส่วนใหญ่ก็ถือว่าบิ้วสำเร็จตามเป้า เพราะ Raimi เขาเล่าได้กลมกล่อม ตะล่มอารมณ์คนดูค่อนข้างได้ผล

ผมว่าฉบับของ Raimi มีสิ่งนี้เป็นจุดแข็งสำคัญให้คนจดจำ กระทั่งคนไม่ชอบดราม่าก็ตาม แม้พวกเขาจะบ่นว่าไม่ชอบหนังเพราะพระเอกรันทดเกินไป, รำคาญนางเอก, ดราม่าเกินไป, บังเอิญเกินไป ฯลฯ คนที่มีความรู้สึกทำนองนี้ต่อฉบับ Raimi ก็ดูเหมือนจะไม่ชอบใช่ไหมครับ

… แต่ถ้าลองมองอีกมุมหนึ่ง… ถ้าเราไม่ชอบเพราะรำคาญ หรือรู้สึกว่าพระเอกรันทดเกิน หรือรู้สึกว่าดราม่าเยอะ นั่นเท่ากับว่าหนังทำให้คุณ “รู้สึก” และ “อิน” เป็นผลสำเร็จเรียบร้อย เพียงแต่อาจไม่ใช่ทิศทางเดียวกับคนอื่นเท่านั้นเอง

การ รู้สึกว่าหนังไม่สนุกเพราะบทไม่ดี ดาราไม่เวิร์ก หรือ Effect ห่วยก็เรื่องหนึ่ง แต่การรู้สึกว่าไม่ชอบหนัง เพราะมันเศร้า มันดราม่า มันก็อีกเรื่องหนึ่ง

นั่นล่ะครับ จุดเด่นที่น่าสนใจของฉบับ Raimi ในแง่ความบันเทิงก็ตอบสนองได้ ครั้นมาในแง่ปมดราม่าทั้งหลาย คนจะชอบหรือไม่ชอบก็เป็นเรื่องปกติ แต่ลองว่าถ้าคนดูแล้ว หนังทำให้ “รู้สึกบางอย่าง” ขึ้นมาได้ แสดงว่าหนังก็แอบย่องเข้าไปทำอะไรกับจิตใจคนนั้นๆ เหมือนกัน

การปรุง การเร้า การบิ้ว ถือเป็นเส้นบางๆ ที่แบ่งระหว่างโลกแห่งความจริงกับโลกในภาพยนตร์… และ Raimi ก็ใช้เส้นบางๆ นี้ได้ค่อนข้างอยู่หมัด

แล้วเราก็มามองฉบับล่าสุดของ Marc Webb ก็จะออกแนว Simple & Real นำเสนอแบบไม่ประดิษฐ์มาก ไม่ปรุงเยอะ และไม่ใส่ชูรส ซึ่งจากผลที่ได้นั้นก็ไม่แปลกหากจะมีคนมองหนังออกเป็น 2 ทาง

ทางแรกคือมองว่าผู้กำกับแกมือไม่ถึง ปรุงไม่เป็น ส่วนทางที่ 2 คือ ผู้กำกับแกเลือกจะทำออกมาแบบ Simple & Real นั่นเอง

ในมุมที่ว่าผู้กำกับมือไม่ถึง อันนี้ลึกๆ ผมเชื่อว่าไม่ใช่ เพราะถ้าใครดู 500 Days of Summer มาก่อนย่อมเข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร

500 Days of Summer มัน Real ก็จริงครับ แต่ลีลาการนำเสนอไม่ Simple นะครับ ลูกเล่นเยอะ ชูรสเพียบ แกปรุงอยู่หลายฉากหลายซีน แกบิ้วอารมณ์เป็นครับ ฉากไหนจะให้มันหวานก็ได้ จะให้มันเหงาก็ได้ ฉากไหนจะให้คนดูสัมผัสความอาย+ความสนุกของตัวละครก็ได้ (Penis!!!!!!!!) จะชวนให้คนดูคอตกตามพระเอกก็ได้

หรือไม่ก็ให้พระเอกเต้นกลางถนนเพื่อแสดงถึง “ความฟินในใจ” พี่แกก็ทำได้มาแล้ว (อันที่จริงฉากที่ว่าทำให้ผมนึกถึงตอนปีเตอร์เดินสบายแบบไร้กังวลพร้อมเพลง Raindrops keep falling on my head ใน Spider-Man 2 อยู่ในที)

original

โดยส่วนตัวผมว่าพี่แกก็ “มีของ” อยู่ แต่อาจเป็นไปได้ว่าพวกเขาพยายามนำเสนอในทางที่ต่างจากฉบับ Raimi พยายาม แหวก พยายาม Real แต่เอาเข้าจริงการแหวกนั้นมันยากอยู่ (ขนาดพยายามแหวกแค่ไหน ก็ยังหนีไม่พ้นที่ต้องเอาประโยคเด็ดลุงเบนมาใส่น่ะครับ กรอบมันมีจริงๆ เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้เลย)

ต้องยอมรับครับว่าคอหนังแนวซูเปอร์ ฮีโร่จะมีภาพแพทเทิร์นของหนังแนวนี้อยู่ในหัวไม่มากก็น้อย ดังนั้นถ้าผลที่ได้ออกมามันผิดกลิ่นหรือมีอะไรขาดหายไป ความรู้สึกว่า “มันไม่ใช่” จะเกิดขึ้นได้ อย่างไม่ยากเย็น

อย่างผมเองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในบางจังหวะก็มีความรู้สึกทำนองที่ว่า (แต่ไม่ขนาดนั้น) เกิดในใจอยู่เหมือนกัน

แอบคิดในใจว่าถ้าทีมงานเอาจุดดีของฉบับ Raimi มาปรุงลงไป แล้วเติมความ Real อันเป็นเอกลักษณ์ของชุดใหม่ลงไปให้เข้ากัน… ผลมันจะออกมาเป็นยังไง?

หากมองไอ้แมงมุมฉบับของ Webb แบบกลางๆ ก็จะพบว่าหนังมีองค์ประกอบหลักๆ ของแนวซูเปอร์ฮีโร่ครบ มีพระเอก มีพลังวิเศษ มีผู้ร้าย มีนางเอก มีบทสมทบ มีการต่อสู้ปะทะที่มาพร้อม Effect แสงสีที่คงสะใจแฟนฉบับการ์ตูนเพราะสีมันสดโดนใจดีแท้ แต่จุดที่ยังเติมได้อีกก็คือบท (หรือดราม่า) นั่นแหละครับ พวกปมขัดแย้ง มิติตัวละคร เหล่านี้ยังเติมได้อีกพอสมควร

จุดที่ผมชอบที่สุดก็ยกให้ สัมพันธ์รักของปีเตอร์กับเกว็น มันสวยงามดีน่ะครับ มันได้อารมณ์วัยรุ่น มันมีกลิ่นหอมของดอกไม้บาน แต่นอกนั้นอย่างปมในใจปีเตอร์ ปมของแฮร์รี่ ออสบอร์น (Dane DeHaan) ปมของแม็กซ์ ดิลลอนหรือมนุษย์ไฟฟ้าอิเล็คโตร (Jamie Foxx) มันยังสามารถเพิ่มความหนักแน่นให้กับบทได้อีก ซึ่งถ้าเพิ่มดีกรีความเข้มข้นก็คงขยับเพิ่มตามไปด้วย

และอีกอย่าง… ผมรู้สึกว่าก้าวย่างสู่การเป็นอิเล็คโตรของแม็กซ์นี่ช่างละม้าย เดอะ ริดเลอร์ หรือมนุษย์เจ้าปัญหาแห่ง Batman Forever ซะเหลือเกิน (คลั่งฮีโร่, มีภาพติดเต็มห้อง, พูดเองเออเอง, สติเฟื่องคิดไม่เหมือนชาวบ้าน, ไม่มั่นใจในตัวเอง, อยากเป็นคนสำคัญ, สติแตกได้ด้วยคำพูดไม่กี่คำ)

ถึงจุดนี้ก็ยอมรับครับว่าหนังดูโอเค แต่ความเข้มข้นยังพร่องไปนิด แต่ก็เอาเถอะครับ ได้แต่หวังว่า Webb จะเก็บทั้งคำชมและคำแนะนำไปใช้ในการสร้างภาคต่อไป

เมื่อคุยถึงตรงนี้ผมก็นึกถึงอีกเรื่องขึ้นมา นั่นคือ “สไตล์การนำเสนอ” แน่นอนครับว่าของ Raimi ต่างจาก Webb ซึ่งผมรู้สึกว่าการนำเสนอของพวกเขานั้น มันบ่งบอกอะไรบางอย่างที่น่าจะสนุก หากเรามองมันดีๆ มันสะท้อนบางสิ่ง ไม่ใช่แค่สไตล์ของผู้กำกับ แต่ยังสะท้อนการคิด มุมมอง และอาจเลยไปถึงเรื่อง “Generation” ด้วย

ฉบับ Raimi นั้น มองได้ว่าคนทำมีอายุครับ ผู้กำกับผ่านโลกมามาก ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าตัวละครทั้งหลายจะมามีวุฒิภาวะ อย่าง ปีเตอร์ที่เมื่อลุงเบนมาตายจากไป เขาก็พร้อมจะเลือกทางเดิน รับผิดชอบชีวิตตน พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้คนอื่นๆ ต้องมารับเคราะห์เพราะเขา ตามด้วยการกันแมรี่ เจนออกไปจากชีวิต

ส่วนแฮร์รี่แม้จะดูหงอ แต่จริงๆ เขาก็ยังมีความรับผิดชอบในเรื่องงาน พยายามสานต่อบริษัทของพ่อให้ดีที่สุด, แมรี่ เจน เหมือนจะใจโลเลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แต่เอาเข้าจริงเธอชอบปีเตอร์ตั้งแต่ภาคแรกแล้วครับ เธอตระหนักว่าปีเตอร์อยู่ข้างเธอเสมอ จนบอกรักปีเตอร์ในงานศพของนอร์แมน ออสบอร์น เพียงแต่ปีเตอร์เป็นฝ่ายเลือกที่จะไม่เสี่ยงนำอันตรายไปสู่แมรี่เจน จึงพยายามหลีกหนีจากเธอครั้งแล้วครั้งเล่า จนเธอเองต้องเป็นฝ่ายบอกว่า “คุณจะไม่ให้สิทธิ์ในการตัดสินใจกับฉันเลยเหรอคะ?

ลุง เบนก็มาพร้อมประโยคที่คนเอาไปใช้สอนคนอื่นได้อีกนับร้อยปี, ป้าเมย์ก็รักหลาน ให้กำลังใจหลาน แม้ถึงคราวจะโกรธหลานแต่ก็เลือกจะเงียบ ไม่ตีโพยตีพายอะไร หรือกระทั่งตัวปีเตอร์ตอนโดนสสารดำ พี่แกก็ยังกลับใจทันก่อนทุกอย่างสายเกินไป

วายร้ายหลายคนก็ลงเอยด้วย การสำนึกและชดใช้บาปอย่าง ด็อกเตอร์ อ็อคโทปุส, แซนด์แมน และแฮร์รี่ ส่วนกรีน ก็อบลินแม้จะทำผิดจนนาทีสุดท้าย แต่คงจำกันได้ว่าศึกสุดท้ายนั้นเขาทำเพื่อทวงความเป็นธรรมให้กับลูกชายตนเอง ไม่ได้ทำไปโดยไร้แรงขับในใจ

จะรู้สึกได้ว่าแต่ละตัวละครจะ “มีความคิด” มาพร้อมแรงขับบางอย่างบังคับใจ กระทั่งคนร้ายก็ยังมีวิธีคิด เพียงแต่มันเป็น “ตรรกะที่นำไปสู่หายนะ” เท่านั้นเอง

ฉบับ Raimi รูปแบบตัวละครจะค่อนข้างมีสูตรสำเร็จที่ชัดเจน คือต่อให้ใครคิดผิด แต่สุดท้ายพวกเขาก็จะกลับใจ อันนี้จะว่าเป็นหนังที่มีกลิ่นอาย “การมองโลกแง่ดีนิดๆ” ก็คงไม่ผิดอะไรนัก

ส่วนฉบับของ Webb หลายคนจะมองว่าตัวละครในเวอร์ชั่นนี้ดูไม่ค่อยมีแรงขับที่ชัดเจน อย่างภาคนี้การบ้าคลั่งของแม็กซ์ก็ดูไม่หนักแน่นนัก

แต่ เราอาจมองในแง่ที่ว่า เพราะคนไม่สมบูรณ์แบบ และคนเราก็มีอารมณ์ความรู้สึกเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดเรื่องราวต่างๆ บางครั้งแค่สถานการณ์เล็กๆ ก็พลิกผันเรื่องราวได้

ถ้ามองด้วยเรื่อง Generation แล้ว วิธีคิด วิธีมองของ Raimi กับ Webb อาจแตกต่าง อย่าง Raimi อาจมองว่าการที่ตัวละครสักตัวจะทำอะไรสักอย่าง มันต้องมีสาเหตุชัดเจน มีเหตุอันหนักแน่นรองรับ ไม่ใช่เจอะไรทีเดียวก็เปลี่ยนใจได้ง่ายๆ แต่มันต้องเจอแล้วเจออีก รันทดแล้วรันทดเล่า แล้วถึงจะส่งผลต่อจิตใจ (ถ้ามองในแง่ผู้ใหญ่ผ่านโลกมามากก็ไม่แปลกครับ เพราะ Raimi เจออะไรมาเยอะ ไม่ใช่วัยรุ่นที่พอเจอเรื่องเล็กๆ ก็หลุด มันต้องเยอะพอ หนักพอถึงจะหลุดได้)

แต่กับ Webb เหมือนจะสื่อถึงการตัดสินใจแบบคนยุคใหม่ สมัยดิจิตอล ทัชสกรีน และ 4G วิถีการตัดสินใจจึงอาจไวอาจเร็ว อารมณ์ความรู้สึกมักมาก่อน ความอดทนของตัวละครดูจะน้อยลงหากเทียบกับฉบับ Raimi ซึ่งเรื่องทำนองนี้ก็แสดงให้เห็นผ่านตัวละครที่อารมณ์สั่นไหวได้ง่าย อันนี้คิดในแง่หนึ่ง การที่อารมณ์ไหวง่ายๆ มันอาจเข้ากับสไตล์ Comic แต่หากมองในแง่หนังแล้ว ไม่แปลกที่หลายคนจะมองว่าบทไม่เข้ม เพราะมันไม่มีอะไรให้เข้มให้คั้นเท่าไร

แต่ถ้าถามว่าแปลกมากไหม ก็ตอบได้ว่าไม่หรอกครับ มันจะแปลกอะไรที่คนรุ่นหนึ่งต้องผ่านอะไรมาเยอะ อารมณ์ถึงจะแปรปรวน ในขณะที่คนที่รุ่นหนึ่งมีลักษณะ “อารมณ์พาไป รู้สึกไว ขึ้นลงได้เร็ว”… มันก็คือธรรมดาของคนนั่นแหละครับ แล้วแต่ใครจะมอง แล้วแต่การตีความพิจารณา

อีกอย่าง จุดที่ต่างกันมากๆ ระหว่างฉบับของ Raimi และ Webb ก็คือ
+ ปีเตอร์ของ Raimi เล่าตอนหลังเรียนจบแล้ว ทำงานแล้ว
+ ปีเตอร์ของ Webb เพิ่งเรียนจบครับ ยัง Hormone อยู่

ขนาดช่วงวัยยังต่าง แบบนั้นย่อมไม่แปลก ที่สไตล์ก็พลอยต่าง รสก็พลอยต่างไปด้วย

และอันที่จริงปีเตอร์ (อาจรวมถึงตัวละครอื่นๆ) ก็คือร่างทรงของผู้กำกับดีๆ นี่เองแหละครับ

เอาล่ะครับ ร่ายมายาว ก็ขอลงท้ายสั้นๆ ว่าภาคนี้ดูได้ครับ จุดเด่นคือความโรแมนซ์และสีสัน แต่บทจะอ่อนไปนิดเท่านั้นเอง
คะแนนความชอบ 7/10
รีวิวโดย ขุนหมื่นแสนสะท้าน

ทางเข้าดูการ์ตูนออนไลน์ฟรี 👉 AnimeHaku.com 👈 เว็บดูอนิเมะ มีการ์ตูนพากษ์ไทยเยอะที่สุด

Similar Videos

รีวิว Scouts Guide to the Zombie Apocalypse (2015) 3 (ลูก) เสือปะทะซอมบี้

2468 0

https://www.youtube.com/watch?v=A5e7Mr7eVTk ทางเข้าดูหนังออนไลน์ฟรี 👉 Hopsmovie.com 👈 เว็บดูหนังฟรีที่มีหนังให้เลือกดูมากที่สุด ผมเชื่อว่าหลายคนเล็งหนังเรื่องนี้ไว้ และตั้งเป้าว่ามันน่าจะออกมาโอเคแบบหนังซอมบี้อย่าง Zombieland เพราะหน้าหนังก็ชวนให้คิดแบบนั้นด้วย ทางเข้าดูการ์ตูนออนไลน์ฟรี 👉 AnimeHaku.com 👈 เว็บดูอนิเมะ มีการ์ตูนพากษ์ไทยเยอะที่สุด

รีวิวซีรี่ส์ MacGyver Season 1 (2016) (ตอนที่ 1)

2096 0

ทางเข้าดูหนังออนไลน์ฟรี 👉 Hopsmovie.com 👈 เว็บดูหนังฟรีที่มีหนังให้เลือกดูมากที่สุด พูดแบบไม่อ้อมค้อมครับว่าสิ่งที่ผมเขียนคงมีอคติเจืออยู่กว่า 90% ดังนั้นใครต้องการ Comment แบบเป็นกลาง ก็บอกได้เลยครับว่าคงไม่ใช่สิ่งที่ผมจะเขียนแน่ๆ… รวมถึงต้องขออภัยท่านที่ชอบ MacGyver ฉบับนี้มา ณ ที่นี้ด้วยครับ ผมบอกเลยว่าผมไม่มีปัญหากับท่านที่ชอบ ผมเคารพในความชอบ-ไม่ชอบของแต่ละคน เพียงแต่นี่คือความรู้สึกที่ผมมีต่อซีรี่ส์นี้เท่านั้นครับ ทางเข้าดูการ์ตูนออนไลน์ฟรี 👉 AnimeHaku.com 👈 เว็บดูอนิเมะ มีการ์ตูนพากษ์ไทยเยอะที่สุด

รีวิว Pawn Sacrifice (2014) เดิมพันชาติรุกฆาตโลก

1777 0

รู้สึกว่าระยะหลังๆ นี้ Tobey Maguire มักจะเล่นบทแนวคนเก็บกดอะไรสักอย่าง แล้วก็มีฉากให้แหกปากระเบิดอารมณ์อยู่บ่อยๆ ครับ (เพราะลอง Search ภาพหนังใหม่ๆ ของเขาทีไรต้องมีคนแคปภาพตอนพี่แกแหกปากมาลงทุกที) ทางเข้าดูหนังออนไลน์ฟรี 👉 Hopsmovie.com 👈 เว็บดูหนังฟรีที่มีหนังให้เลือกดูมากที่สุด ทางเข้าดูการ์ตูนออนไลน์ฟรี 👉 AnimeHaku.com 👈 เว็บดูอนิเมะ มีการ์ตูนพากษ์ไทยเยอะที่สุด